โครงการวิจัย เรื่อง “ต้นแบบระบบนิเวศเมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่ กรณีศึกษาการพัฒนาระบบโครงข่ายขนส่งสาธารณะเมืองโคราช (A Model for Low Carbon & Livable City Urban Ecosystems : A Case Study of the Development of Public Transportation Network System in Korat City)” ได้รับพิจารณาสนับสนุนการดำเนินจาก กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) และ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ปีงบประมาณ 2565 #TSRI #สกสว #หน่วยบริหารจัดการทุนเพื่อการพัฒนาระดับพื้นที่ #NXPO #สอวช #PMUA #บพท
โดยการดำเนินการอยู่ภายใต้ Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ Program 15 พัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญโดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แผนงานการพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่ ประเด็นริเริ่มสำคัญ การพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่ และมีเป้าหมาย พัฒนาและใช้ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเมืองศูนย์กลางในภูมิภาคและเชื่อมโยงความเจริญสู่ชนบท
มี ดร.สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ อาจารย์ประจำหลักสูตรนวัตกรรมการพัฒนาเมืองและการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน สถาบันระบบรางแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นผู้อำนวยโครงการวิจัย ร่วมกับคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะฯ สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา เป็นชุดโครงการวิจัยจะประกอบไปด้วย 3 โครงการย่อย ได้แก่
- ระบบข้อมูลเปิดอัจฉริยะเพื่อกรอบการพัฒนาต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่ (Smart Open Information Systems for Urban Development Model Along Low Carbon & Livable City Approach)
- การพัฒนาระบบโครงข่ายขนส่งสาธารณะสู่ต้นแบบเมืองอัจฉริยะสังคมคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่ กรณีศึกษาเมืองโคราช (Developing A Public Transport Network to A Model for Society Low Carbon, and Livable to Smart City: A Case Study of Korat City)
- การยกระดับความรู้ด้านการพัฒนาเมืองของชาวโคราชสู่การมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่ (Enhancement of the Korat people’s knowledge about urban development to participate in planning for the development of livable low-carbon city)
เวลาระยะดำเนินการ 1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 เมษายน 2566
วัตถุประสงค์ดำเนินโครงการวิจัย ได้แก่
- พัฒนาระบบข้อมูลเปิดอัจฉริยะสำหรับการพัฒนาต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่
- พัฒนาระบบโครงข่ายขนส่งสาธารณะสู่ต้นแบบเมืองอัจฉริยะสังคมคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่ กรณีศึกษาเมืองโคราช
- ยกระดับความรู้การพัฒนาเมืองของชาวโคราชสู่ความเป็นสังคมและเมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่